การปฏิรูปการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียน: ในเขตพื้นที่อันดามัน

เนื้อหาบทความหลัก

จุฬาลักษณ์ ใจอ่อน
ดร.สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย
ดร.วิภาพร สุทธิอัมพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียนในเขตพื้นที่อันดามันผ่านการปฏิรูปการสอนโดยใช้โมเดลการสอนที่พัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดภูเก็ต รวมจำนวน 3 โรงเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา เน้นการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลจาก โพรโตคอลการสอน ภาพถ่าย แบบสังเกต และผลงานการแก้ปัญหาของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของ Inprasitha (2023) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูง เห็นได้จากการที่นักเรียนแสดงวิธีการและแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่นักเรียนแก้ปัญหา พัฒนาจนนักเรียนตระหนักเป็นวิธีการเรียนรู้ (how to) ด้วยตนเอง ดังนี้ 1) นักเรียนขยายแนวคิดด้วยการนำแนวคิดหรือวิธีการเรียนรู้ที่เคยเรียนมาก่อนหน้านี้มาใช้แก้ปัญหาใหม่ที่ไม่คุ้นเคยหรือมีความท้าทายมากกว่าในบทเรียนถัดไป และ 2) นักเรียนนำแนวคิดที่เกิดขึ้นในชั่วโมงนั้นทั้งหมดหรือชั่วโมงก่อนหน้ามาบูรณาการกันเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาใหม่

รายละเอียดบทความ

วิธีการอ้างอิง
การปฏิรูปการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียน: ในเขตพื้นที่อันดามัน (ใจอ่อน จ., หาญเชิงชัย ส. ., & สุทธิอัมพร ว. . , Trans.). (2025). การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 15, 15(3), 174-188. https://benjamit.thonburi-u.ac.th/ojs/bmv15/article/view/261
ส่วน
บทความวิจัย

วิธีการอ้างอิง

การปฏิรูปการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียน: ในเขตพื้นที่อันดามัน (ใจอ่อน จ., หาญเชิงชัย ส. ., & สุทธิอัมพร ว. . , Trans.). (2025). การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 15, 15(3), 174-188. https://benjamit.thonburi-u.ac.th/ojs/bmv15/article/view/261