การศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต 

เนื้อหาบทความหลัก

ณัทฐินา เขาทอง
อนุวัตร จิรวัตรพาณิช
ภานุพงษ์ อึ๋งสืบเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น และความรับผิดชอบของผู้เรียน ขณะเรียนรู้โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น จำนวน 6 แผน
2) แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องความน่าจะเป็น 3) แบบวัดและประเมินการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ข้อมูลวิจัย ได้แก่ ข้อมูลจากการทดสอบก่อน-หลังเรียน ข้อมูลจากแบบประเมินการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และข้อมูลจากแบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลการศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าผลการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่คาดการณ์ไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 27 คน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ก่อนเรียนเรื่องความน่าจะเป็น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 2.19 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ หลังเรียนเรื่องความน่าจะเป็น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.89 และผลการประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น และความรับผิดชอบของผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น และความรับผิดชอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.51 คะแนน อยู่ในระดับดี ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.85 รองลงมาคือ ความสำเร็จของงาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 คะแนน รองลงมาคือการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 คะแนน และสุดท้ายคือ การวางแผนการทำงาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.63 คะแนน จากสถิติดังกล่าวจะเห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือส่งผลเชิงบวกต่อทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการเรียนรู้เชิงบวกของนักเรียน         

รายละเอียดบทความ

วิธีการอ้างอิง
การศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต  (เขาทอง ณ., จิรวัตรพาณิช อ., & อึ๋งสืบเชื้อ ภ. , Trans.). (2025). การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 15, 15(3), 66-77. https://benjamit.thonburi-u.ac.th/ojs/bmv15/article/view/156
ส่วน
บทความวิจัย

วิธีการอ้างอิง

การศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต  (เขาทอง ณ., จิรวัตรพาณิช อ., & อึ๋งสืบเชื้อ ภ. , Trans.). (2025). การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 15, 15(3), 66-77. https://benjamit.thonburi-u.ac.th/ojs/bmv15/article/view/156