การศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต

เนื้อหาบทความหลัก

วานีตา ลำโป
ผศ.อนุวัตร จิรวัตรพาณิช
จุฑามาศ ชูจันทร์

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น และความรับผิดชอบของผู้เรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โดยใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เรื่อง ทศนิยม จำนวน 8 แผน 2 )  แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่องทศนิยม มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ 3 ) แบบวัดและประเมินผลการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์  4 ) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ข้อมูลวิจัย ได้แก่ ข้อมูลจากการทดสอบก่อน-หลังเรียน ข้อมูลจากแบบประเมินการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และข้อมูลจากแบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการบรรยายเชิงวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลการศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่คาดการณ์ไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องทศนิยม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 36 คน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ก่อนเรียนเรื่องทศนิยม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 2.69 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ หลังเรียนเรื่องทศนิยม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 2.44 และผลการประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น และความรับผิดชอบของผู้เรียน ขณะเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  พบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น และความรับผิดชอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.11 อยู่ในระดับดี ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

รายละเอียดบทความ

วิธีการอ้างอิง
การศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต (ลำโป ว., จิรวัตรพาณิช อ., & ชูจันทร์ จ. , Trans.). (2025). การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 15, 15(3), 104-116. https://benjamit.thonburi-u.ac.th/ojs/bmv15/article/view/104
ส่วน
บทความวิจัย

วิธีการอ้างอิง

การศึกษาการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต (ลำโป ว., จิรวัตรพาณิช อ., & ชูจันทร์ จ. , Trans.). (2025). การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 15, 15(3), 104-116. https://benjamit.thonburi-u.ac.th/ojs/bmv15/article/view/104