การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 15

เลือกภาษาของคุณ

 

      การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “เบญจมิตรวิชาการ” ครั้งที่ 15 ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 โดยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท) และสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาแห่งประเทศไทย โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยธนบุรี เป็นผู้ดำเนินการหลัก ร่วมกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายเบญจมิตร ในหัวข้อ “ปัญญาประดิษฐ์ พลังขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยการประชุมวิชาการ ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ การเสวนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และองค์ความรู้อื่น ๆ ในศาสตร์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

 

การพิจารณากลั่นกรองบทความ

    1) บทความต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ มีประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติ เพื่อให้นักวิจัยสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม

    2) บทความต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน

 

กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ (Step of Peer Review)

     1) กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อย สมบูรณ์

     2) กองบรรณาธิการจะตรวจสอบรูปแบบการพิมพ์บทความ และเนื้อหาของบทความ ว่าตรงกับขอบเขตเนื้อหาของวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการ ประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารประกอบการนำเสนอบทความเพื่อพิจารณาเผยแพร่

     3) ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความ ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยกระบวนการกลั่นกรองนี้ ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-Blind Review)

    4) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตาม ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรจะส่งให้ผู้เขียนแก้ไข แล้วส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้งหนึ่ง หรือปฎิเสธการตีพิมพ์